หน้าเว็บ

วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยการเล่านิทาน


ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยการเล่านิทาน
นิทานพัฒนา EQ EQ (Emotional Quotient) เป็นความฉลาดทางอารมณ์ ที่จะช่วยให้การดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างสร้างสรรค์และมีความสุข (เข้าใจตนเอง + เข้าใจผู้อื่น + แก้ไขความขัดแย้ง)นิทานช่วยพัฒนา
  • ภาษา ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการ
  • เรียนรู้ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม
  • สานสายใยครอบครัว
  • ปลูกฝังให้รักการอ่าน
  • สนุกสนาน เพลิดเพลินและมีสมาธิ

สิ่งเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานนำไปสู่การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ที่เหมะสมในแต่ละช่วงวัยและจากสิ่งที่ได้อ่านได้ฟังยังใช้เป็นแนวทางที่จะช่วยให้สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ เพื่อให้เด็กอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเข้าใจและมีความสุข


Q : เลือกนิทานอย่างไรให้ลูกรัก ?A : เด็ก ๆ เรียนรู้จากการฟังและการอ่านนิทาน ดังนั้นผู้ปกครองควรส่งเสริมให้เด็กๆได้ฟังหรืออ่านนิทานจากหนังสือที่เหมาะสมกับวัยเพื่อช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่ดีมีความฉลาดทางอารมณ์ และมีความสุข ขณะตั้งครรภ์ควรเลือกหนังสือที่สนุกสนานโดยแม่ตั้งใจเล่านิทานให้ลูกน้อยในครรภ์ฟังวัยแรกเกิด - 1ปีวัยนี้จะสนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัว ชอบมองของที่มีสีสวยงาม รู้สึกสนุกกับการค้นหา หนังสือที่เหมาะสมกับวัยนี้ ควรเป็นหนังสือที่มีรูปภาพเดี่ยวเหมือนจริง เช่น รูปสัตว์ ผลไม้ ฯลฯ ฉากหลังของภาพไม่รกรุงรังวัย 2-3 ปีเป็นวัยอยากเรียนรู้สิ่งต่างๆ สนใจค้นหาชอบสำรวจสิ่งต่างๆ มีการพัฒนาทางภาษารวดเร็ว ชอบฟังบทกลอนสั้นๆ ใช้ภาษาง่ายๆ หนังสือที่เหมาะสมกับวัยนี้ ควรมีเนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน สัตว์ สิ่งของใช้ภาษาง่ายๆอาจเป็น บทกลอนหรือคำคล้องจองวัย 4-5 ปีเด็กวัยนี้พูดเป็นประโยคยาวๆได้ ชอบตั้งคำถามทำไม อย่างไร ช่างสังเกต ช่างฝัน เริ่มมีจินตนาการ เล่นเป็นกลุ่มด้วยบทสมมติเป็น หนังสือที่เหมาะกับวัยนี้ ควรเป็นเรื่องที่ประสานกลมกลืน เนื้อเรื่องสนุก ใช้ภาษาแปลกๆ รูปภาพน้อยลงแต่รายละเอียดของภาพมากขึ้นวัย 6-7 ปีเด็กวัยนี้พูดได้ชัดเจน เล่าเรื่องต่างๆได้ยาว ชอบแสดงท่าทางประกอบหรือเลียนแบบ หนังสือที่เหมาะกับวัยนี้ ควรเป็นเรื่องสั้นๆ ใช้ภาษาง่ายๆ เนื้อเรื่องตลกขบขัน มีการสอดแทรกจริยธรรมวัย 8- 11 ปีเด็กวัยนี้จะเริ่มรู้จักคิดเป็นเหตุเป็นผล ชอบเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่ มีสมาธิดีขึ้น หนังสือที่เหมาะกับวัยนี้ ควรเป็นหนังสือที่เขียนจากเรื่องจริง เช่น ประวัติบุคคลสำคัญ ความรู้รอบตัว ฯลฯ มีการสอดแทรกจริยธรรมในเนื้อเรื่องวัย 12 – 15 ปีเด็กวัยนี้มีความคิดเป็นของตัวเอง เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม บางครั้งสับสนกับบทบาทของตนเองชอบเลียนแบบสื่อที่ชอบ หนังสือที่เหมาะสมกับวัยนี้ ควรเป็นเรื่องที่ มีความหลากหลาย ซับซ้อน ที่สามารถคิดคาดเดาและท้าทายให้อยากรู้ต่อไป มีการสอดแทรกคุณธรรม และจริยธรรม



สนับสนุนข้อมูลโดย : สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

 
Link   http://women.sanook.com/mom-baby/toddler/devl1-3_15280.php

ของเล่นพัฒนาภาษเด็ก


บทบาทสมมุติเป็นเรื่องที่เด็กๆชอบทำกันจนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเด็กๆ การเล่บทบาทสมมุตินี้ถือว่าเป็นการเสริมสร้างจิตนาการของเด็กๆมากเลยค่ะ นอกจากจะเล่นไปด้วยแล้วยังต้องมีการสื่อสารเพื่อความเหมือนในบทบาทสมมุติที่ได้เล่นอีกด้วย และสิ่งที่เป็นตัวเชื่อมนั้นก็คือของเล่น บางครั้งก็อาจจะใช้วัสดุจริงเลยก็ได้ แต่ด้วยอันตรายของของใช้แล้วนั้น ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะให้ลูกน้อยถือของใช้ในบ้านมาเล่นเป็นของเล่นเด็ก แบบนี้นี่เองที่ของเล่นสามารถส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาให้กับลูก บทความนี้ต้องขอขอบคุณของเล่นไม้เสริมพัฒนาการ PlanToys ค่ะ


ส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษา
การเล่นช่วยส่งเสริมพัฒนาการในทุกๆด้านให้แก่เด็กๆ รวมทั้งพัฒนาการทางด้านภาษาด้วย เนื่องจากการเล่นบางอย่าง เช่นการเล่นตามจินตนาการ เล่นบทบาทสมมุติ ทำให้เด็กได้รู้จักคำศัพท์ใหม่ๆ รู้จักการใช้คำคุณศัพท์ในการระบุอาการหรือสิ่งของ รู้จักใช้คำเชื่อม เช่นคำบุพบท คำสันธาน และการเรียบเรียงประโยค อันนำไปสู่การเพิ่มทักษะการใช้ภาษาและเพิ่มคลังคำศัพท์ในสมองของเด็ก ทำให้เด็กสามารถสื่อความหมายของสิ่งที่คิด รู้จักเลือกคำที่ใช้ให้เหมาะกับบุคคล โอกาส เวลาและสถานที่ เวลา เล่าเรื่องราวต่างๆออกมาโดยการพูดหรือการเล่นร่วมกับพ่อแม่ เพื่อนๆหรือแม้แต่กับบุคคลอื่นๆ ซึ่งเป็นการส่งเสริมการแสดงความคิดเห็นและกระตุ้นให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์ ระหว่างกันมากยิ่งขึ้น





Language Enhancement

Play enhances language skills in many ways. Make-believe play is very verbal and allows children to practice using words that express their feelings and intentions. While role playing they can describe actions and differentiate between the past, present or future. Learning songs, poems, and playing question and answer games enhances listening skills, comprehension and expressive language.
 
ของเล่นเด็กเสริมพัฒนาการด้านใดบ้าง!!!!
ของเล่นเด็กช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย (ของเล่นไม้ PlanToys)
 
ของเล่นเด็กส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์จิตใจ (ของเล่นเสริมพัฒนาการ PlanToys)
 
ของเล่นเด็กส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา (ของเล่นเสริมพัฒนาการ PlanToys)
 
ของเล่นเด็กส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม (ของเล่นไม้ PlanToys)
 
ของเล่นเด็กส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษา (ของเล่นไม้ PlanToys)
 

กิจกรรมพัฒนาภาษา

การจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

        การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กด้านภาษาจำเป็นต้องสร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กได้คุ้นเคยกับการใช้ภาษาอย่างมีความหมาย และเป็นองค์รวม เนื่องจากสภาพแวดล้อมในห้องเรียนเป็นสิ่งที่สำคัญที่ส่งผลต่อความต้องการในการเรียนภาษาของเด็ก การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการเรียนภาษาของเด็กต้อง สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก ส่งเสริมให้เด็กสำรวจ ปฏิบัติจริง เป็นผู้กระทำด้วยตนเอง เปิดโอกาสให้เด็กเป็นอิสระได้สังเกตและตั้งสมมุติฐาน ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับบุคคลรอบข้าง เป็นสิ่งแวดล้อมที่เน้นความหมายมากกว่ารูปแบบ ควรยอมรับการสื่อสารของเด็กในรูปแบบต่างๆโดยคำนึงถึงความหมายที่เด็กต้องการสื่อมากกว่าความถูกต้องทางไวยากรณ์ (หรรษา นิลวิเชียร, 2535: 211-212)         ห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยควรมีวัสดุอุปกรณ์ส่งเสริมการรู้หนังสือที่มีคุณภาพ เด็กที่ได้อยู่ในห้องเรียนที่มีวรรณกรรมสำหรับเด็กที่มีคุณภาพมีแนวโน้มที่จะรักการอ่าน และการอ่านวรรณกรรมที่ดีจะกลายเป็นส่วนสำคัญของชีวิตในอนาคตของเด็ก อีกทั้งยังเป็นส่วนที่กระตุ้นให้เด็กมีความต้องการอ่านบ่อยครั้ง ซึ่งส่งผลต่อการประสบความสำเร็จในการเรียนในระดับที่สูงขึ้น ทั้งนี้วัสดุอุปกรณ์ที่ควรมีในห้องเรียนได้แก่วรรณกรรมสำหรับเด็กที่มีความหลากหลายในด้านของผู้แต่ง และผู้วาดภาพประกอบ มีระดับความยากแตกต่างกัน มีวัสดุที่ใช้สำหรับการอ้างอิง ประกอบด้วยพจนานุกรม แผนที่ บัญชีคำศัพท์ และสารานุกรม นิตยสารสำหรับเด็ก นอกจากนี้ครูควรจัดให้มีสื่อสำหรับการเขียนทั้งกระดาษที่ไม่มีเส้น และมีเส้นหลายสี หลายแบบ หลายขนาด กระดาษบันทึกเล็กๆ ซองจดหมาย ดินสอ ปากกา สีชนิดต่างๆ เครื่องเหลาดินสอ ตรายางและแท่นประทับ นอกจากนี้ยังอาจจัดสื่อสำหรับการเย็บกระดาษ ซึ่งประกอบด้วยเครื่องเย็บกระดาษ ที่เจาะกระดาษ เชือก กาว เทปใส กระดาษกาว คลิปหนีบกระดาษ กรรไกร เป็นต้น โดยควรจัดวางให้เด็กสามารถเลือกหยิบใช้และนำมาเก็บคืนได้ด้วยตนเองด้วยการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
        การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยควรจัดให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติที่เหมาะสมในการพัฒนาเด็กปฐมวัย (DAP) ไม่ควรเป็นการสอนทักษะทางภาษาอย่างเป็นทางการ แต่ควรเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีความท้าทายให้เด็กเกิดความต้องการที่จะร่วมกิจกรรม และสามารถประสบความสำเร็จในการทำกิจกรรมด้วยตนเอง หรือมีผู้ใหญ่คอยชี้แนะ เป็นกิจกรรมที่เหมาะสมกับระดับพัฒนาการทางภาษาของเด็ก และช่วยให้เด็กก้าวไปสู่พัฒนาการทางภาษาในขั้นต่อไป ครูควรจัดกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อตอบสนองต่อความแตกต่างกันของเด็ก ตัวอย่างการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย มีดังต่อไปนี้
1. การสนทนาข่าวและเหตุการณ์ (Morning Message)        เป็นกิจกรรมที่เด็กและครูได้สนทนาร่วมกันในช่วงเริ่มต้นกิจกรรมของแต่ละวัน ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน และได้เปลี่ยนกันเป็นผู้พูดและผู้ฟัง ครูควรส่งเสริมให้เด็กมีมารยาทที่ดีในการพูดและการฟัง หากเด็กคนใดไม่ต้องการพูดก็ไม่ควรถูกบังคับให้พูด เพื่อให้เด็กที่ไม่มั่นใจในตนเองรู้สึกสบายใจที่จะมีส่วนร่วมในการฟังการสนทนาหัวข้อที่ใช้สนทนาอาจเกี่ยวกับการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และเหตุการณ์พิเศษของแต่ละวัน เช่น วันนี้เราจะทำอะไรกันบ้าง จะมีใครมาที่ห้องเราบ้าง ฯลฯ เป็นข่าวสารจากเด็ก ซึ่งเด็กอาจเล่าเรื่องส่วนตัวของตนเอง หรือเล่าเกี่ยวกับสิ่งของที่ตนนำมา (Show & Tell) เด็กที่ได้เล่าเรื่องจะรู้สึกเสมือนว่าตนเองเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่ตนกำลังพูดอยู่ นับว่าเป็นการช่วยขยายประสบการณ์ให้แก่เด็กคนอื่นๆ ด้วย และเมื่อเด็กๆรู้ว่าแต่ละวันเขาสามารถเล่าเรื่องเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเพื่อนได้ เด็กจะเรียนรู้เกี่ยวกับการเตรียมเรื่องที่จะพูดไว้ล่วงหน้า หรือเป็นหัวข้อที่เด็กสนใจ ซึ่งเด็กๆจะพยายามหาข้อมูลมาให้มากที่สุดเท่าที่เขาจะทำได้ เด็กๆ อาจหาข้อมูลด้วยการพูดคุยกับคุณพ่อคุณแม่ สังเกตหรือทดลองด้วยตนเอง ฯลฯ        การสนทนาเป็นวิธีการสำคัญและเป็นวิธีการหลักที่ครูจำเป็นต้องใช้ในการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาของเด็กปฐมวัย เพราะในขณะที่เด็กสนทนากับครู เด็กจะได้ยินแบบอย่างของการใช้ภาษาที่ถูกต้องเหมาะสม เมื่อเด็กสนทนากันเอง เด็กจะมีโอกาสฟังความคิดเห็นของผู้อื่น แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ได้ยินคำศัพท์ใหม่ๆ ได้ทำความเข้าใจการพูดของเพื่อนจากสิ่งชี้แนะ (McGee and Richgels, 2000: 160) การที่เด็กได้เล่าเรื่องให้เพื่อนฟังทำให้เด็กรับรู้และเข้าใจเรื่องได้ดีขึ้น มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันมากขึ้น เด็กได้ใช้ภาษาบ่อยขึ้น เด็กจะรู้จักใช้คำถามถามเพื่อน รู้จักการหาข้อมูลไว้ตอบคำถาม เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และยังช่วยพัฒนาการยอมรับในสิ่งที่ผู้อื่นพูดอีกด้วย ระหว่างการสนทนา ครูควรมีบทบาทเป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกในการสนทนา ถ้ามีผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่คนอื่นอยู่ด้วยก็ควรให้บุคคลเหล่านั้นเป็นส่วนหนึ่งของการสนทนา ไม่ควรมีบรรยากาศของการตัดสินว่าสิ่งที่เด็กพูดถูกหรือผิดเพื่อส่งเสริมให้เด็กต้องการมีส่วนร่วมในการสนทนาและติดตามหัวข้อที่สนทนาอย่างสม่ำเสมอ2. การอ่านออกเสียงให้เด็กฟัง (Reading Aloud)        เป็นกิจกรรมที่ครูเลือกวรรณกรรมสำหรับเด็กที่ดีมาอ่านให้เด็กฟัง ครูควรจัดให้มีช่วงเวลาเฉพาะสำหรับการอ่านออกเสียงให้เด็กฟัง (Story Time) กิจกรรมนี้อาจจะจัดเป็นกิจกรรมกลุ่มย่อยหรือจัดสำหรับเด็กกลุ่มใหญ่ก็ได้ โดยครูเลือกหนังสือที่เด็กสนใจมาอ่านให้เด็กฟัง ครูควรอ่านชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง ผู้วาดภาพประกอบ อ่านเนื้อเรื่องพร้อมกับชี้ข้อความขณะที่อ่าน เปิดโอกาสให้เด็กได้ถามคำถาม หรือสนทนาเกี่ยวกับตัวละคร หรือเรื่องราวในหนังสือ ครูอาจเชิญชวนให้เด็กคาดเดาเหตุการณ์ในเรื่องบ้าง และควรเตรียมข้อมูลที่ช่วยให้เด็กเข้าใจคำยากที่ปรากฎในเรื่อง ถามคำถามที่กระตุ้นให้เด็กคิดวิเคราะห์ และจัดกิจกรรมต่อเนื่องจากเรื่องที่อ่านให้เด็กเลือกทำตามความสนใจ เช่น เตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ปรากฎในเรื่องในเด็กได้เล่นสมมุติ เตรียมภาพให้เด็กได้เรียงลำดับเรื่องราว เป็นต้น        ช่วงเวลาที่ครูอ่านหนังสือให้เด็กฟังนี้ควรเป็นช่วงเวลาที่ทำให้เด็กรู้สึกอบอุ่น และมีความสุข ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูและเด็ก ครูควรอ่านหนังสือให้เด็กฟังทุกวันเพื่อช่วยให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อการอ่าน และช่วยให้เด็กมีความรู้เกี่ยวกับการใช้หนังสือ การใช้สิ่งชี้แนะในการคาดคะเนและตรวจสอบการคาดคะเน3. การให้เด็กเล่าเรื่องซ้ำ (Story Retelling)        เป็นกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจับใจความ เด็กปฐมวัยเรียนรู้การจับใจความด้วยการฟังนิทาน เพราะนิทานมีโครงสร้าง ลีลาในการเขียน และเรื่องราวที่เด็กคุ้นเคย เอื้อให้เด็กสามารถใช้ความรู้เดิมในการจับใจความจากเรื่องที่ฟังและดูภาพประกอบ เมื่อครูเล่านิทานให้เด็กฟังแล้ว ครูต้องถามคำถามเพื่อกระตุ้นให้เด็กคิดจับใจความสำคัญ ในขณะเดียวกันก็ต้องเป็นแบบอย่างของการคาดคะเน แปลความ ตีความ และตรวจสอบความเข้าใจ แล้วเก็บประเด็นสำคัญในการจับใจความ จากนั้นจึงเปิดโอกาสให้เด็กเล่าเรื่องให้ผู้อื่นฟัง โดยการเล่าเรื่องอาจเป็นกิจกรรมระหว่างครูกับเด็ก หรือเป็นกิจกรรมระหว่างเด็กกับเด็กด้วยกัน เพื่อให้เด็กเกิดแรงจูงใจในการเรียนและฝึกปฏิบัติในสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว        เทคนิคในการสอนเล่านิทานแบบเล่าเรื่องซ้ำ ได้แก่ ก่อนเล่านิทานครูถามคำถามให้เด็กคาดคะเน และเชื่อมโยงประสบการณ์เดิม ขณะเล่านิทาน ครูถามคำถามให้เด็กตีความ ให้คาดคะเน ให้แปลความ และตรวจสอบความเข้าใจ หลังเล่านิทานจบควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้ทบทวนเรื่องราวที่ได้ฟัง เช่น การทำแผนผังนิทาน หนังสือนิทาน บอร์ดนิทาน กล่องนิทาน ฉากนิทาน แผ่นพับนิทาน ภาพแขวนต่อเนื่อง การเชิดหุ่น ภาพตัดต่อนิทาน บทบาทสมมติ และกะบะนิทาน ทั้งนี้ ครูควรเสริมแรงอย่างเหมาะสมขณะเด็กเล่าเรื่องซ้ำให้ผู้อื่นฟังด้วย (อลิสา เพ็ชรรัตน์, 2539)4. การอ่านร่วมกัน (Shared Reading)        เป็นกิจกรรมที่มีเครื่องมือหลัก หรือสื่อพื้นฐานคือหนังสือเล่มใหญ่ ซึ่งขนาดของตัวหนังสือใหญ่พอที่เด็กที่นั่งอยู่ข้างหลังมองเห็นคำหรือตัวหนังสือในแต่ละหน้า หนังสือเล่มใหญ่ที่เลือกมาใช้ควรเป็นวรรณกรรมเด็กที่เป็นที่คุ้นเคย และเป็นประเภททายได้        ขั้นตอนของการอ่านร่วมกันเริ่มตั้งแต่การอภิปรายถึงเนื้อเรื่องของหนังสือที่จะอ่าน หรือนำสิ่งของที่สัมพันธ์กับเรื่องมานำเสนอ เพื่อช่วยให้เด็กเริ่มสนใจหนังสือที่จะอ่านและช่วยให้เด็กมีความรู้พื้นฐานในเรื่องที่จะอ่านด้วย อ่านหนังสือให้เด็กฟังทั้งเรื่องเพื่อให้เด็กสนใจ ชี้คำขณะที่อ่านเพื่อให้เด็กคุ้นเคยกับตัวหนังสือ คำ หรือข้อความเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการอ่าน ให้เด็กสนุกกับส่วนที่ทายล่วงหน้าได้        เมื่ออ่านร่วมกับเด็กหลายครั้งแล้วครูควรจัดกิจกรรมที่ช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ส่วนย่อยของข้อความที่เป็นประโยค วลี หรือคำ โดยการทำหน้ากากปิดตัวหนังสือเพื่อให้เด็กเห็นคำหรือวลีที่ต้องการเน้นให้ชัดขึ้นและให้เด็กที่เป็นอาสาสมัครอ่าน นอกจากทำหน้ากากแล้วครูอาจใช้กิจกรรมการเติมคำที่เจาะจงที่หายไป (Cloze) กิจกรรมนี้จะชวยให้เด็กเข้าใจได้ว่าข้อความหรือคำไม่ใช่รูปภาพ และเรียนรู้ว่าตัวหนังสือจะมีทิศทาง ซึ่งการเติมคำที่หายไปนี้อาจเป็นประเภททางเสียงและประเภททางตา หรือครูอาจใช้กิจกรรมการเน้นที่คำสำคัญด้วยการทำบัตรคำสำคัญไว้ให้เด็กนำไปเทียบกับคำในหนังสือตามความสนใจ หรืออาจทำบัตรภาพจากในหนังสือให้เด็กจับคู่ภาพกับเนื้อความในหนังสือก็ได้ (จูดิธ พอลลาด สลอทเธอร์, 2543)        หลังจากที่ได้อ่านร่วมกันแล้ว ครูควรจัดกิจกรรมการสื่อภาษาและกิจกรรมการเล่นเกมภาษา เพื่อให้เด็กได้สื่อความหมายสิ่งที่ได้อ่าน กิจกรรมการสื่อภาษา ได้แก่ การทำหนังสือนิทาน การแสดงละคร การเล่าเรื่องซ้ำ การทำงานศิลปะ การทำภาพผนัง ฯลฯ โดยใช้หนังสือเล่มใหญ่เป็นสื่อ ส่วนกิจกรรมการเล่นเกมภาษา ได้แก่ เกมหาคำที่เหมือนกันในนิทาน เกมหาชื่อตัวละคร เกมพูดตามเครื่องหมายวรรคตอน เกมลำดับภาพและข้อความจากเรื่อง เป็นต้น (สุภัทรา คงเรือง, 2539)5. การสอนอ่านแบบชี้แนะ (Guided Reading)        เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กมีความรู้พื้นฐาน ในด้านการอ่านอย่างเหมาะสมกับระดับความสามารถของเด็ก เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างครูกับเด็กเป็นรายบุคคลหรือทำงานกับเด็กเป็นกลุ่มย่อย 4 - 8 คน (Stewig and Simpson, 1995)        ครูควรเลือกหนังสือที่มีระดับความยากเหมาะสมกับกลุ่มเด็ก โดยพิจารณาจากความซับซ้อนของเรื่องและภาษาที่ใช้ในนิทาน ลักษณะของประโยคที่เล่าเรื่อง และภาพประกอบ ที่ช่วยให้เด็กคาดเดาเรื่องและคำได้มาใช้ในการอ่านร่วมกับเด็ก กิจกรรมนี้มีเงื่อนไขสำคัญที่กลุ่มเด็กและครูต้องมีหนังสือที่ครูเลือกไว้ทุกคน เมื่อครูประเมินว่าเด็กต้องได้รับการเพิ่มพูนความรู้พื้นฐานเรื่องใด ครูจะตั้งวัตถุประสงค์ในเรื่องนั้น เพื่อนำมาสอดแทรกในการอ่านร่วมกับกลุ่มเด็ก        ความรู้พื้นฐานในการอ่านของเด็ก เช่น ส่วนประกอบของหนังสือ การใช้หนังสือ การคาดเดาเรื่องราวจากภาพหรือโครงสร้างของประโยค การเชื่อมโยงเรื่องราวกับประสบการณ์เดิมของเด็ก การรู้จักคำใหม่ การเล่นกับเสียงของตัวอักษรหรือพยัญชนะต้นของคำ การคาดเดาคำใหม่จากภาพ และตัวอักษร ฯลฯ (Neuman and Bredekamp, 2000) ทั้งนี้ครูต้องกำหนดช่วงเวลาเฉพาะในการสอนอ่านแบบชี้แนะ ซึ่งในแต่ละสัปดาห์เด็กควรมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมนี้อย่างน้อย 1 ครั้ง สิ่งสำคัญในการสอนอ่านแบบชี้แนะคือ การที่ครูสอนทักษะย่อย ๆ นี้จะต้องไม่ทำมากเกินไปจนเสียอรรถรสของเรื่องที่อ่านด้วยกัน6. การอ่านอิสระ (Independent Reading)        เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กเลือกอ่านตามความสนใจ สื่อที่ใช้ในการอ่านอาจเป็นหนังสือประเภทต่างๆ คำคล้องจอง เนื้อเพลง หรือสื่อต่างๆ เช่น ป้ายข้อตกลงต่างๆ ในห้องเรียน ป้ายประกาศเตือนความจำ คำแนะนำในการใช้และเก็บของเล่น คำขวัญ คำคล้องจองประจำมุม ป้ายสำรวจชื่อเด็กที่มาโรงเรียน ป้ายแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ ป้ายอวยพรวันเกิด รายการอาหารและของว่างประจำวัน ปฏิทิน รายงานอากาศประจำวัน และป้ายอวยพรวันเกิดเพื่อน เป็นต้น        ครูควรจัดให้เด็กมีเวลาเลือกอ่านอย่างอิสระตามความสนใจ และอาจจัดทำบันทึกการอ่านของเด็ก โดยการให้เด็กเล่าหรือพูดคุยเรื่องที่อ่านให้ครูหรือเพื่อนฟัง ครูช่วยบันทึกสิ่งที่เด็กอ่าน หรืออาจให้เด็กจดชื่อหนังสือที่ตนอ่านลงในสมุดบันทึก7. การอ่านตามลำพัง (Sustained Silent Reading - SSR)        วิธีการส่งเสริมการอ่านที่ดี คือการให้เด็กมีโอกาสในการอ่านจริงๆ ครูควรจัดให้มีช่วงเวลาเฉพาะที่เด็กทุกคนรวมทั้งครูเลือกหนังสือมาอ่านตามลำพัง ช่วงเวลานี้เด็กจะได้เลือกหนังสือที่ตนชื่นชอบหรือสนใจมาอ่าน แม้ว่าชื่อของกิจกรรมจะเป็นการอ่านเงียบๆ โดยไม่รบกวนผู้อื่น แต่ในทางปฏิบัติเด็กอาจพูดออกเสียงพึมพำระหว่างการอ่านบ้าง ครูไม่ควรบังคับให้ทุกคนเงียบสนิทระหว่างการอ่าน กิจกรรมนี้อาจใช้เวลาประมาณ 5-10 นาทีต่อวัน ควรเป็นเวลาที่เด็กมีอิสระในการเลือกอ่านโดยครูไม่ต้องมอบหมายงานต่อเนื่องจากการอ่านให้เด็กทำ (Stewig and Simpson, 1995: 216)8. การเขียนร่วมกัน (Shared Writing)        เป็นกิจกรรมที่ครูเขียนร่วมกับเด็กโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เด็กใช้กระบวนการเขียนตั้งแต่การการตัดสินใจแสดงความคิดที่ประมวลไว้ออกมาเป็นภาษาเขียนให้ผู้อื่นรับรู้ด้วยการสร้างตัวอักษรหรือสัญลักษณ์ สื่อความหมายที่ครอบคลุมความหมายที่ต้องการสื่อ โดยจัดเรียงตำแหน่งสิ่งที่เขียนจากซ้ายไปขวา และบนลงล่าง การเขียนร่วมกันทำให้เด็กรู้ว่าความคิดสามารถบันทึกไว้ด้วยข้อความได้ และทำให้เด็กเกิดทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการเขียน        ในการเขียนร่วมกัน ครูอาจเริ่มต้นด้วยการเชิญชวนให้เด็กสนทนาเกี่ยวกับเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นเนื้อหาที่เด็กริเริ่มและสัมพันธ์กับประสบการณ์จริงของเด็ก ครูแสดงแบบอย่างของการตัดสินใจถ่ายทอดความคิดเป็นข้อความหรือสัญลักษณ์โดยการกระตุ้นให้เด็กช่วยกันบอกสิ่งที่ต้องการสื่อความหมาย แล้วให้เด็กช่วยกันสรุปข้อความที่เด็กช่วยกันบอกให้กระทัดรัด เหมาะที่จะเขียน เพื่อให้เด็กจำข้อความนั้นได้ก่อนลงมือเขียน ให้ครูเป็นคนเขียนข้อความเอง เพื่อป้องกันไม่ให้มีการวิจารณ์เด็กที่เขียนผิดต่อหน้าเพื่อนและครู จนเด็กที่เขียนเสียกำลังใจ และไม่กล้าเขียนอีก ระหว่างที่เขียนควรหมั่นถามให้เด็กติดตามบอกให้ครูเขียน ควรเขียนให้เด็กเห็นลีลามือที่ถูกต้อง เขียนตัวหนังสือขนาดใหญ่พอที่เด็กจะเห็นทิศทางการเขียนที่ถูกต้อง ทั้งนี้ ลายมือที่ครูเขียนมีส่วนสำคัญในการเป็นแบบอย่างให้แก่เด็ก ครูจึงควรระวังเรื่องลายมือและลีลามือที่ถูกต้องสวยงาม เมื่อเขียนเสร็จแล้วจึงอ่านทวนให้เด็กฟัง อาจให้เด็กอ่านทวนอีกครั้ง และให้เด็กวาดภาพประกอบ (ภาวิณี แสนทวีสุข, 2538)        ตัวอย่างกิจกรรมการเขียนร่วมกัน ได้แก่ กิจกรรมสำรวจเด็กมาโรงเรียน ซึ่งให้เด็กได้ลงชื่อมาโรงเรียนตามความสมัครใจ จากนั้นเมื่อถึงเวลาสำรวจรายชื่อเด็กและครูสามารถนำใบลงชื่อนี้มาใช้เขียนร่วมกันว่ามีเด็กมาโรงเรียนจำนวนเท่าไร หรือใครไม่มาโรงเรียนบ้าง กิจกรรมประกาศข่าว โดยการเปิดโอกาสให้เด็กหรือครูแจ้งข่าวสารที่ต้องการให้ทุกคนรับรู้ เมื่อครูเขียนตามที่เด็กบอกแล้วสามารถนำข้อความดังกล่าวมาติดประกาศ เป็นต้น9. การเขียนอิสระ (Independent Writing)        เป็นกิจกรรมที่ที่เด็กริเริ่มเนื้อหาที่ต้องการสื่อความหมายอย่างอิสระในช่วงเวลาของกิจกรรมสร้างสรรค์และเล่นตามมุม เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กเขียนเพื่อสื่อความหมายตามความสนใจและความสมัครใจ เด็กเป็นผู้เลือกเนื้อหาในการทำกิจกรรม เช่น การเขียนถ่ายทอดความคิดที่ผลงานศิลปะและผลงานการต่อบล็อก การบันทึกชื่อนิทานที่อ่าน การเขียนเพื่อทำอุปกรณ์ประกอบการเล่นสมมุติ เช่น ใบสั่งยา เมนู ฯลฯ การบันทึกการสังเกตในมุมวิทยาศาสตร์        ครูอาจเตรียมกิจกรรมให้เด็กได้เขียนอย่างมีความหมายโดยสัมพันธ์กับหน่วยการเรียน โดยใช้เนื้อหาจากหน่วยการเรียนมาบูรณาการกับการเขียนอิสระตามมุมประสบการณ์ให้เด็กได้เลือกทำ เช่น การพิมพ์ภาพมือและเท้าที่มุมศิลปะในหน่วยตัวเรา การทำเมนูอาหารที่มุมร้านอาหารในหน่วยอาหารดีมีประโยชน์ เป็นต้น (ภาวิณี แสนทวีสุข, 2538)





บทความพัฒนาการภาษา



พัฒนาการด้านภาษา
       

       แรกเกิด-1 เดือน - ร้องไห้ หยุดฟังเสียง, ทำเสียงในคอ
       อายุ 2 เดือน - ฟังเสียงคุยด้วยแล้วหันหาเสียง
       อายุ 4 เดือน - ส่งเสียงอ้อแอ้ โต้ตอบ หัวเราะ ส่งเสียงแหลมรัว เวลาดีใจ สนุก
       อายุ 6 เดือน - หันหาเสียงเรียก เล่นน้ำลาย ส่งเสียงหลายเสียง
       อายุ 9 เดือน - ฟังรู้ภาษาและเข้าใจสีหน้าท่าทางได้ เปล่งเสียงเลียนเสียงพยัญชนะ แต่ไม่มีความหมาย
       อายุ 12 เดือน - เรียกพ่อ แม่ หรือพูดคำโดดที่มีความหมาย 1 คำ ทำตามคำสั่งที่มีท่าทางประกอบได้
      
      




 การส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษา
      
       แรกเกิด-6 เดือน :
          ควรมีการเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิดและมีการพูดคุยส่งเสริมให้มีพัฒนาการทางภาษาอย่างเหมาะสมตั้งแต่แรกหลังเกิด โดยเฉพาะขณะที่ให้การดูแลเรื่องทั่วๆไปในชีวิตประจำวัน เด็กทารกมักมีความสนใจเสียงที่ค่อนข้างแหลม เสียงสูงๆต่ำๆ ซึ่งหากผู้เลี้ยงดูจะทำน้ำเสียงให้มีลักษณะแตกต่างกันไปบ้างตามสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น ก็จะทำให้เด็กได้เรียนรู้ความหมายของการสื่อสารที่บอกถึงอารมณ์ความรู้สึกแตกต่างกันไปของผู้พูด อย่างไรก็ตามการใช้ภาษาเด็กพูดคุยกับเด็กควรจะค่อยๆลดลงภายหลังอายุ 6 เดือน การสื่อสารด้วยภาษาอย่างที่ใช้กับเด็กโตหรือผู้ใหญ่เพิ่มมากขึ้นจะค่อยๆช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ภาษาในระยะต่อไปอย่างดี
      
       อายุ 7-12 เดือน :
      
       1. ควรพูดคุยทำเสียงเล่นกับเด็กและพูดเป็นเสียงของคำที่มีความหมาย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นคำเรียกพ่อหรือแม่หรือผู้เลี้ยงดูที่ใกล้ชิดกับเด็ก
       2. พูดสอนหรือบอกให้เด็กทำสิ่งต่างๆอย่างง่ายๆพร้อมกับมีกิริยาทำท่าประกอบควบคู่กันไป จะช่วยให้เด็กเข้าใจสิ่งที่ต้องการผู้ใหญ่ต้องการสื่อสารได้ง่ายขึ้น
       3. พ่อแม่อาจไม่จำเป็นต้องพูดสอนหรือบอกเฉพาะคำศัพท์เดี่ยวๆคำใดคำหนึ่งเท่านั้น การพูดโดยมีคำขยายเพิ่มเติมก็จะเป็นการสอนให้เด็กเข้าใจความหมายของภาษาที่พูดคุยมากขึ้นแม้อาจจะยังพูดไม่ได้ทั้งหมด เช่น พ่อมา หมาเห่า เป็นต้น
       4. เมื่อเด็กพูดคุยด้วยภาษาเด็กที่แม้จะฟังไม่เข้าใจ แต่ถ้าผู้เลี้ยงดูสามาถคาดเดาได้จากสถานการณ์หรือเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ผู้เลี้ยงดูควรพูดคุยเป็นคำที่มีความหมายกับเด็กเพื่อเป็นแบบอย่างสอนให้เด็กเข้าใจต่อไป
       5. ผู้เลี้ยงดูควรพูดคุยกับเด็กเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เด็กสนใจ พูดบอกหรืออธิบายอย่างสั้นๆและคอยสังเกตการตอบสนองของเด็ก
      
       การใช้หนังสือนิทานหรือรูปภาพ จะช่วยเพิ่มคำศัพท์ให้แก่เด็กได้มากและเพิ่มทักษะความเข้าใจภาษาที่มีในสื่อเหล่านั้น ตลอดจนเป็นการปลูกฝังให้เด็กรักการอ่าน อย่างไรก็ตามผู้เลี้ยงดูไม่ควรตั้งใจสอนให้เด็กอ่านหรือท่องจำหนังสือ หรือตัวเลขมากเกินไปเพราะการที่เด็กท่องจำได้ตามที่ถูกสอนไม่ได้หมายความว่าเด็กจะมีความสามารถในการอ่านระยะถัดไปได้ดีกว่าเด็กอื่นในวัยเดียวกัน ความเข้าใจทางภาษาที่แตกฉานและสามารถใช้ภาษาพูดได้เป็นอย่างดีจะเป็นรากฐานที่สำคัญต่อความรู้ความเข้าใจในการอ่านหรือเขียนมากกว่าเน้นท่องจำอย่างเดียว ขณะอ่านหรือดูหนังสือกับเด็กควรเปิดโอกาสให้เด็กหยิบจับหรือหัดเปิดหนังสือเองบ้าง
      
       อย่างไรก็ตามพัฒนาการของเด็กแต่ละคนมีความหลากหลาย อายุที่กล่าวไว้นั้นเป็นเพียงเกณฑ์ที่เด็กส่วนใหญ่ควรทำได้ซึ่งหากไม่เป็นไปตามนี้ก็อาจไม่ได้หมายถึงพัฒนาการที่ล่าช้าแต่อย่างใด ดังนั้นหากผู้ปกครองมีความสงสัยเรื่องพัฒนาการของบุตรหลานควรปรึกษากุมารแพทย์โดยตรง      
  
     ขอบคุณข้อมูลจาก Kids Center โรงพยาบาลเวชธานี / Manager online

21 กันยายน 2555

21  กันยายน  2555




อาจารย์เปิดงานใน Blog ของแต่ละคนแล้วบอกสิ่งที่ขาดข้อบกพร่องในแต่ละอย่าง
การตกแต่ง
การออกแบบความคิดสร้างสรรค์
การทำงานด้วยความซื่อสัตว์ รับผิดชอบ



อาจารย์นัดสรุปในอาทิตย์หน้าส่งสิ่งที่ต้องใส่ในแฟ้มเพิ่มเติม


  • จับคู่ดูทีวีครูแล้วสรุปมาใส่ใน blogพร้อมวีดิโอ
      ใคร   ทำอะไร    ที่ไหน    เมื่อไหร่  อย่างไร
  • ใส่วิจัยเกี่ยวกับภาษาของเด็กปฐมวัยมาในblogด้วยหนึ่งเรื่อง

  • หาบทความเกี่ยวกับภาษา  เพลงส่งเสริมพัฒนาการภาษา  เกมพัฒนาภาษา   นิทาน  และอุปกรณ์


14 กันยายน 2555

14  กันยายน  2555



เพื่อนๆได้ร้องเพลงต่อจากสัปดาห์ที่ผ่านมา และเล่านิทาน


กลุ่ม พราว เพลง ตาหูจมูก

ดวงตาฉันอยู่ที่ไหน รู้ไมช่วยบอกฉันที
ดวงตาฉันอยู่ที่นี่ ดูให้ดีอยู่ที่นี่เอง
ใบหูฉันอยู่ที่ไหน รู้ไหมช่วยบอกฉันที
ใบหูฉันอยู่ที่นี่ ดูให้ดีอยู่ที่นี่เอง
จมูกฉัันอยู่ที่ไหน รู้ไหมช่วยบอกฉันที
จมูกฉันอยู่ที่นี่ ดูให้ดีอยู่ที่นี่เอง (ซ้ำ)

กลุ่ม อ๊อฟ เพลง กินผัก ผลไม้

กินผักแล้วมีประโยชน์ ไม่เคยมีโทษมีแต่วิตามิน
เกลือแร่ก็มีมากมาย อีกทั้งกากใยถูกใจจริงจริง
กินเท่าไหร่ก็ไม่มีอ้วน กินเท่าไหร่ก็ไม่มีอ้วน
ของดีล้วนล้วนไม่ควรเขี่ยทิ้ง
 
 
กลุ่ม อันอัน เพลง เด็กน้อยน่ารัก
 
เด็ก เด็กที่น่ารัก หนูจงตั้งใจอ่านเขียน
ตอนเช้าหนูมาโรงเรียน (ซ้ำ)
หนูจงพากเพียรและขยันเรียนเอย

 
กลุ่ม มด เพลง นกน้อย

นกตัวน้อยน้อย บินล่องลอยตามสายชล
เด็กเด็ก พากันมาชื่นชม ช่างสุขสมอารมณ์จริงเอย
ลา ลั้น ล้า ลา ลัน ล้า ลา ล่า ลา

 
กลุ่มดิฉันได้เล่านิทานตามที่ได้จับฉลากไว้   (ดิฉันขาดเรียนเลยไม่ได้เล่า)

กลุ่มดิฉัน เรื่อง ดาวนน้อยลอยในทะเล  โดยเล่าไปฉีกไป
 
 
กลุ่มเพื่อนๆได้เล่านิทานดังนี้
 
กลุ่ม ละออ เรื่อง ดินสอวิเศษ เล่าไปพับไป
กลุ่ม ส้ม เรื่อง เต่าขี้บ่น เล่าด้วย เชือก
กลุ่ม เพลง เรื่อง กระต่าบกับแครรอท เล่าด้วย เชือก
กลุ่ม แป้ง เรื่อง ครอบครัวทั้ง 4 เล่าด้วยเชือก
กลุ่ม อ๊อฟ เรื่อง เรือโจรสลัด เล่าไปฉีกไป
กลุ่ม ปักเป้า เรื่อง ความสามัคคีของผีเสื้อ เล่าด้วย เชือก
กลุ่ม หนิง เรื่อง ยักษ์ 2 ตนหัวใจเดียวกัน เล่าไปพับไป
กลุ่ม หยก เรื่อง ชายขี้เบื่อ เล่าไปพับไป
กลุ่ม เอ๋ย เรื่อง พระจันทร์ ยิ้ม เล่าไปตัดไป
กลุ่ม แกน เรื่อง หัวใจล้านดวง เล่าไปฉีกไป
กลุ่ม พราว เรื่อง เจ้าหมีกับผึ้งน้อย เล่าไปตัดไป
กลุ่ม กวาง เรื่อง เพื่อน เล่าไปวาดไป 
 

7 กันยายน 2555

7  กันยายน  2555





วันนี้อาจารย์ได้ให้ไปเข้าร่วมชมนิทรรศการอาเซียนที่คณะศึกษาศาสตร์
  
 โครงการศึกษาศาสตร์วิชาการคุณภาพการศึกษาไทยก้าวไกลสู่ประชาคมอาเซียน

 ผอ. ราตรี ศรีไพรวรรณ เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับอาเซียน

 ดิฉันได้รับความรู้มากจากที่ฟังบรรยาย เพราะสิ่งที่ฟังไม่เยรู้มาก่อนเลย




คำขวัญของอาเซียน 

One Vision One ldentity One Community 
 หนึ่งวิสัยทัศน์  หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม

ตราสัญลักษณ์ของอาเซียน คือ ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้น มัดรวมกัน

สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง 
สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและการมีพลวัติ
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ 
สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง




เพลงประจำอาเซียน 
“The ASEAN Way”

เป็นผลงานจากประเทศไทยที่ชนะเลิศจากการแข่งขันระดับภูมิภาคอาเซียน 
ประพันธ์โดยนายกิตติคุณ สดประเสริฐ (ทำนองและเรียบเรียง)
 ได้เริ่มใช้บรรเลงอย่างเป็นทางการครั้งแรกในพิธีเปิดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14
 ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552 ที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์